ยินดีต้อนรับ


วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 18 วันที่ 29 กันยายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 

**หมายเหตุ  เรียนชดเชยวันที่อาทิตย์


  • อาจารย์ให้ส่งงานสื่อวิทยาศาสตร์ 3 อย่าง นำเสนอสื่อ 1 อย่าง

แสงดาวที่หายไป

เพื่อคลายข้อสงสัยนี้ เราไปร่วมค้นหาคำตอบกับการทดลองสนุก ๆ  ในตอนที่ชื่อว่า .?แสงดาวที่หายไป?
อุปกรณ์
  1. ซองจดหมายสีขาว 1 ซอง
  2. กระดาษแข็ง 1 แผ่น (ขนาดเล็กว่าซองจดหมาย)
  3. ที่เจาะกระดาษ หรือไม้เสียบลูกชิ้น
  4. ไฟฉาย


วิธีการทดลอง

1.   เจาะรูบนแผ่นกระดาษแข็งประมาณ 10-15 รู แล้วนำใส่ลงในซองจดหมาย ดังภาพที่1
2.   เลือกทำการทดลองในห้องที่มีแสงสว่างปกติ ให้ถือซองจดหมายที่ระดับสายตา แล้วส่องไฟฉาย
ไปบริเวณด้านหน้าของซองจดหมาย ดังภาพที่ โดยให้ไฟฉายห่างจากซองจดหมายประมาณ 2 นิ้ว 
สังเกตเห็นอะไรบ้าง
3. ให้ถือซองจดหมายไว้ที่ตำแหน่งเดิม แต่เปลี่ยนตำแหน่งของไฟฉาย โดยเลื่อนไฟฉายไปฉาย
ด้านหลังซองจดหมาย

 ดังภาพที่ 3 สังเกตสิ่งที่มองเห็นจากภายในซองจดหมาย

        







จากผลการทดลอง 

จะพบว่าเมื่อส่องไฟฉายบริเวณด้านหน้าซองจดหมาย จะเห็นเพียงแสงสว่างจ้าของไฟฉายสะท้อนเข้าตา  แต่เมื่อเปลี่ยนไปส่องด้านหลังซองจดหมาย ก็จะสามารถมองเห็นแสงจากไฟฉายบางส่วนลอดผ่านรูเล็ก ๆ ที่เจาะไว้ ดูคล้ายกับดาวที่ส่องแสงระยิบระยับในเวลากลางคืน

การที่มนุษย์มองเห็นสิ่งต่าง ๆ  ได้นั้นเนื่องจากมีแสงจากวัตถุสะท้อนเข้าสู่ตา ผ่านรูม่านตา (Pupil) ที่อยู่ระหว่างม่านตา (Iris) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงสีของดวงตา  คนทั่วไปมักเรียกรูม่านตาว่า ตาดำ  ม่านตาจะควบคุมแสงให้ผ่านเข้าสู่ตาในปริมาณที่เหมาะสม คือ ในที่มีแสงสว่างมาก ม่านตาปรับรูม่านตาให้แคบลง เพื่อลดปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ตา ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่างน้อย รูม่านตาจะขยายกว้างออก ทำให้แสงผ่านเข้าสู่ตาได้มาก จึงมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น  ในกรณีที่เราส่องไฟฉายไปด้านหน้าของซองจดหมาย แสงจ้าของไฟฉายจะสะท้อนกับกระดาษเข้าสู่ตา ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นรูเล็ก ๆ บนกระดาษได้ เช่นเดียวกับการที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบกับบรรยากาศโลก  แสงเหล่านี้จะกลบแสงดาวให้หายไปในเวลากลางวัน  ทั้ง ๆ ที่ดาวดวงน้อยใหญ่เหล่านั้นยังคงส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเราส่องไฟฉายเข้าด้านหลังซองจดหมาย ปริมาณแสงด้านหน้าซองจดหมายที่น้อยกว่า จะทำให้รูม่านตาเปิดกว้าง เพื่อรับแสงที่ลอดผ่านรูบนกระดาษมา ทำให้เราสามารถมองเห็นรูบนแผ่นกระดาษได้อย่างชัดเจน
เราจะเห็นดาวบนท้องฟ้าได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน โดยเฉพาะคืนเดือนมืดในชนบทจะเห็นดาวบนฟ้ามากมาย ยกเว้นในคืนที่พระจันทร์ส่องสว่างมาก ๆ หรือในเมืองที่มีแสงไฟรบกวน  แสงจากดาวก็จะหายลับไป





บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 17 วันที่ 18 กันยายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 

กิจกรรม

 *วันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติจริงในการเข้าครัวทำไข่ตุ๋น กิจกรรม cooking หลังจากที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์เมื่อสัปดาห์แล้ว

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking (ไข่ตุ๋นแฟนซี)


  1.  ครูจัดเด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม  แล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำไข่ตุ๋น ในวันนี้วางไว้ข้างหน้า 
  2.  ครูเสริมแรงเด็กโดยการใช้คำถาม  เช่น
  •         เด็กเห็นไหมคะว่าวันนี้คุณครูมีอะไรมา?
  •        เด็กๆคิดว่าวันนี้คุณครูจะทำกิจกรรมอะไร จากอุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นอยู่ค่ะ
  •         เด็กเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ  ไข่ตุ๋นเป็นยังไง 


    3.   ครูแนะนำวัตถุดิบให้เด็กฟัง


    4.   ครูให้นักเรียนอาสาสมัครออกมาหั่นผักและก็ปูอัดทีละคน ผักที่จะหั่นได้แก ผักชี ต้นหอมแครอท..โดยที่คุณครูเฝ้าาสังเกตการหั่นผักของเด็กอยู่ไม่ห่าง..

    
5.   เด็กๆ กับครูร่วมกันปรุงรสไข่ตุ่นกันอย่างสนุกสนาน ^^



ทักษะที่ได้รับ


1. ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดสร้างสรรค์จากเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
2. การเขียนแผนที่ถูกต้อง

การนำไปประยุกต์ใช้

1. การจัดประสบการณ์การทำอาหารให้กับเด็กปฐมวัย




บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 16 วันที่ 15 กันยายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 

**หมายเหตุ วันนี้มีเรียนชดเชย**

แต่ดิฉันไม่สบายจึงไม่ได้ไปเรียนชดเชยค่ะ


ับันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 15 วันที่ 11 กันยายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 



*หมายเหตุไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ*

มีงานมอบหมายคือ เตรียมจัดทำรูปเล่มที่ไปศึกษาดูงาน

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 14 วันที่ 4 กันยายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 


**หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ**

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 13 วันที่ 28 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 





ไปศึกษาดูงาน วันที่ 27-28  สิงหาคม 2556

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา   และ  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์

ออกเดินทางไป รร.สาธิตนครราชศรีมา
อาจารย์พานักศึกษามาไหว้ญ่าโม ก่อนไป รร.ลำปลายมาศ


เด็ก รร.สาธิตนครราชศรีมา

เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมศิลปะ


บรรยาศ รร.ลำปลายมาศ
คุณครูได้บรรยายการศึกษาของ รร.ลำปลายมาศว่ามีความเป็นมายังไง

บรรกาศเด็กร่วมกันทำกิจกรรม




บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 12 วันที่ 21 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 

**หมายเหตุ ไม่มีการเรียนนการสอน**

       -  มอบหมายงานให้ไปหาข้อมูลที่เราจะไปศึกษาดูงาน และเตรียมตัวตามหน้าที่ขอตนเองที่ได้
มอบหมาย
       -  ให้นักศึกษาประดิษฐ์ ของเล่นวิทยาศาตร์และการทดลองวิทยาศาตร์

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 11 วันที่ 14 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 


กิจกรรมการเรียนการสอน
  1. นัดหมายการไปศึกษาดูงาน ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ในวันที่  27 - 28  สิงหาคม  255
  2. ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
  3. มอบหมายหน้าที่ในการไปศึกษาดูงาน
**หมายเหตุ อาทิตย์หน้าไม่มีการเรียนการสอน แต่มีงานที่ต้องทำคือให้ทำว่าวใบไม้**


บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 10 วันที่ 13 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 



โครงการ "การจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต"

วันอังคาร ที่  13  สิงหาคม  2556 เวลา 13:00 - 16:30 น.

ณ  ห้องประชุมจันทร์ประภัสส์  ชั้น 5  อาคารสำนักงานอธิการบดี

บรรยายพิเศษ  โดย  คุณมีชัย  วีระไวทยะ