ยินดีต้อนรับ


วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 9 วันที่ 7 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 


หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน 

เนื่องจากวันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมอบรม 

โครงการ กายงามใจดี ศรีปฐมวัย


บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 8 วันที่ 2 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 



*หมายเหตุ วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก เป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1


บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 7 วันที่ 24 กรกฎาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 

กิจกรรม

  • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์



 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

            เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย สามารถคิดเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมที่ลงมือกระทำกับวัตถุ


  1. ความหมายทักษะการสังเกต  การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
  2. ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์
  3. ความหมายทักษะการวัด  การใช้เครื่องมือต่างๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยหาหน่วยการวัดกำกับ
  4. ความหมายทักษะการสื่อความหมายการพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้าความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
  5. ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลการเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
  6. ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาการู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา
  7. ความหมายทักษะการคำนวนความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การลวก ลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 6 วันที่ 18 กรกฎาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 

หมายเหตุ เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน   แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้   คือ  ให้คิดการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ  สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์


การทดลอง

ทำฟองอากาศเป่าเล่นจากขวดน้ำ


อุปกรณ์
  1. ขวดน้ำื่มแบบพลาสติก
  2. คัสเตอร์
  3. สบู่ผสมน้ำ
  4. ผ้าขนหนูผืนเล็กๆ
  5. ยางรัด
  6. สีน้ำ
วิธีทำ
  1. ตัดก้นขวดออก ผสมกับน้ำสบู่ให้เข้มข้น ผสมสีสวยๆ ลงไป


    2.  นำผ้าขนหนูรัดที่ก้นขวด



    3.  เป่าลมเข้าทางปากขวด

   
    4.   จะได้ฟองสบู่สวยๆ ใหญ่ ค่ะ ^^



บันทึการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 5 วันที่ 15 กรกฎาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 

กิจกรรม


- นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่

รูป 1 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่
ถาม
ค้นหา
ผมสีรุ้ง ในหลอดแก้ว

อุปกรณ์

  • หลอดแก้ว หรือหลอดพลาสติกแบบมีฝาปิด
  • เม็ดเยลลี่ แบบผสมน้ำแล้วฟองฟู
  • น้ำเปล่า
  • แก้วพลาสติก

วิธีทำ

  1. นำเม็ดเยลลี่ สีแดง ฟ้า เหลือง ใส่ลงไปในแก้ว เทน้ำลงไป รอสักครู่ให้เยลลี่พองตัว
  2. นำหลอดพลาสติก ใส่เยลลี่ที่พองตัว สีแดง สีเหลือง สีฟ้า ตามลำดับ
  3. จากนั้นปิดฝาหลอดพลาสติก
  4. พลิกขวดคว่ำลง
จะได้สีรุ้งสวยๆ ผสมกันในขวดค่ะ
รูป 2 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่รูป 3 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่รูป 4 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่รูป 5 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่รูป 6 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่รูป 7 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 4 วันที่ 9 กรกฎาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 

กิจกรรม

  • อาจารย์จินตนานำสื่อวิทยาศาสตร์มาให้ดู   "กระบอกลูกปิงปอง"


กระบอกลูกปิงปอง สอนเรื่อง แสงทะลุผ่านทำให้มองเห็นลูกปิงปอง

  • แจกกระดาษ 2 แผ่น ทำเป้นสมุดเล่มเล็ก "วาดรูป"
สิ่งสำคัญสำหรับเด็ก
  1. กระบวนการ
  2. เด็กได้ลงมือทำกับวัตถุ
  3. ประสบการณ์เดิม
  4. สมอง
  • คิด
  • ดูดซึม
  • ปรับโครงสร้าง
 ดูวิดีโอ เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ


การทดลองที่ 1  :   การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ



จะเห็นได้ว่า น้ำแข็งที่ได้รับความร้อน จนกลายเป็นของเหลว
แล้วจากของเหลวกลสยเป็นก๊าซ คือ ไอน้ำกระทบก้นจานจนทำให้เกิดน้ำหยดลงมา


การทดลองที่ 2  :   การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ



                     จะ เห็นได้ว่า  น้ำที่เทใส่ในภาชนะมีปริมาณเท่ากัน  แต่หลังจากการนำน้ำไปตากแดดเป็นเวลา 1 วันแล้ว  พบว่าน้ำในจานเหลือน้อยกว่าน้ำในแก้ว   เกิดจาก  ผิวหน้าของจานมีความกว้างกว่า น้ำจึงระเหยเร็วจากการโดนความร้อนนานๆ 

การทดลองที่ 3  :   การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ

1.  เทน้ำใส่แก้วจนเต็ม
2.  ใช้กระดาษปิดปากแก้ว  แล้วแช่ช่องแข็งในตู้เย็น




จะพบว่าหลังจากที่นำแก้วน้ำออกจากช่องแช่เข็งแล้วน้ำในแก้วจะเป็นน้ำแข็ง
และดันกระดาษที่ปิดปากแก้วจนเห็นได้ว่านูนขึ้น  เกิดจาก  การขยายตัวเพิ่ม 12 % ของน้ำ 


การทดลองที่  4  :  การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ



จากการทดลองนี้จะพบว่า ... เมื่อใส่แครอตลงไปในแก้วที่มีแต่น้ำเปล่า  แครอตนั้นจะจมลงสู่ก้นแก้ว
แต่พอเราเติมน้ำเกลือลงไปในน้ำที่อยู่ในแก้วด้วย  จะเห็นว่า ชิ้นแครอตนั้นจะลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ
เกิดจาก   น้ำเกลือมีความอัดแน่นกว่าน้ำเปล่าสธรรมดา


การทดลองที่ 5  :   ตกปลาน้ำแข็ง


จากการทดลอง จะเห็นได้ว่าน้ำแข็งติดขึ้นมากับผ้าพันแผล  จากการโรยเกลือลงบนผ้าพันแผลนั่นเอง เกิดจาก    เกลือสามารถดูดความร้อนได้


การทดลองที่ 6  :  การกดดันน้ำ  *ทฤษฎีการสร้างเขื่อน*
1.  เจาะรูขวดพลาสติก 3 รูเรียงในแนวตั้ง ให้ตรงกัน
2. ปิดรูที่เจาะด้วยเทปใสทั้ง 3 รู
3. เต็มน้จนเต็ม
4.  ค่อยๆเปิดเทปใสออกทีละ 1 รู
     จะพบว่ารูที่อยู่ล่างสุด น้ำนั้นจะพุ่งออกจากรูแรงและไกลกว่ารูที่อยู่ด้านบน   เกิดจาก    แรงดันของน้ำ (ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ภาชนะ)  มีไม่เท่ากัน และอยู่ที่ระดับความลึกของน้ำ


การทดลอง   :  ผิวหน้าน้ำ
1. หาขวดพลาสติก 1 ใบ
2.  ตุ๊กตาดินน้ำมัน 1  ตัว  (ด้านล่างของตุ๊กตาต้องโปร่ง)
3.  เติมน้ำในขวดให้ต็ม  แล้วใส่ตุ๊กตาลงไป   ปิดฝาให้สนิท
4.เมื่อเราบีบขวดน้ำ  ตุ๊กตาที่อยู่ก้นขวดจะค่อยๆลอยขึ้นมาอยู่ผิวน้ำ   เกิดจาก  แรงดันอากาศเพิ่มขึ้น

การทดลองที่ 2 :  ผิวหน้าน้ำ
1. ใส่น้ำที่ผสมสีไว้เข้าในสายยาง
2.  ยกปลายสายยางขึ้น จะเห็นว่าน้ำที่อยู่ในสายยางมีปริมาณเท่ากัน
    *จะยกสายยางสูงหรือต่ำ ระดับน้ำในสายยางก็เท่ากันอยู่ดี*

การทดลอง  :  แรงตึงผิว
1.  เอาน้ำใส่ถ้วย
2.  ใส่ข็มเย็บผ้าลงไป  พบเห็นว่า  เข็มเย็บผ้านั้นลอยอยู่ผิวหน้าน้ำ   เนื่องจาก  ผิวหน้าน้ำสัมผัสกับอากาศ  โมเลกุลเลยรวมกลุ่ม  จึงทำให้เกิดความยืดหยุ่นของน้ำ


การทดลอง  :  ปรากฏการณ์ท่อรูเข็ม
1. แก้ว 1 ใบใส่น้ำไว้
2.  ถ้วยเปล่า  1  ใบ
3.  กระดาษทิชชุ่ม้วนเป็นแท่ง
4. ใส่ปลายทิชชู่ลงในแก้วที่มีน้ำ
5.  ปลายอีกด้านหนึ่งจะอยู่ในถ้วยเปล่า  จะเห็นว่า  น้ำซึมผ่านมาหยดในถ้วย


ทักษะที่ได้รับ
1. ทักษะการสรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด
2.  ทักษะการคิด  ทดลอง  และหาข้อเท็จจริง


การนำไปประยุกต์ใช้
1.  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสร์ให้กับเด็กปฐมวัย
2.  การสรุปองค์ความรู้ในประเด็นหลักๆ และในเวลาที่กำหนด  โดยใช้แผนผังความคิด






บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 3 วันที่ 26 มิถุนายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 

กิจกรรม
  • อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO เรื่อง ความลับของแสง แล้วก็ให้นักศึกษาสรุปความรู้ที่ได้รับจากวีดีโอ



การสะท้อนของแสง

  การสะท้อนแสง คือ การเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่ของแสงกลับมาสู่ตัวกลางเดิม เมื่อแสงเคลื่อนที่ไปถึงแนวเขตระหว่างตัวกลาง ตัวกลาง เช่น เมื่อแสงตกกระทบผิวของกระจก แสงจะสะท้อนที่ผิวกระจกกลับสู่อากาศ เป็นต้น เมื่อแสงตกกระทบผิวของวัตถุใดๆ โดยที่พื้นผิวของวัตถุนั้นไม่ดูดกลืนแสงไปทั้งหมด แสงส่วนที่เหลือจะสะท้อนออกจากผิววัตถุนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุที่มีผิวเรียบหรือผิวขรุขระ
รูปแสดงการสะท้อนแสงของวัตถุที่มีผิวเรียบและผิวขรุขระ
การสะท้อนของวัตถุที่มีผิวเรียบหรือผิวขรุขระจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์อันเดียวกันคือ “กฎการสะท้อนของแสง”
รูป  แสดงการสะท้อนของแสงบนกระจกราบ
1. รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นแนวฉากหรือปกติ จะอยู่ในระนาบเดียวกัน
   รังสีตกกระทบ หมายถึงรังสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่ตกกระทบกับผิววัตถุ         
   รังสีตกสะท้อน หมายถึงรังสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่สะท้อนออกจากผิววัตถุ
   เส้นแนวฉากหรือเส้นปกติ คือเส้นตรงที่ลากตั้งฉากกับผิววัตถุ ณ จุดที่รังสีตกกระทบผิววัตถุ
2. มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน
   มุมตกกระทบ คือ มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นแนวฉาก(มุม i )
   มุมตกสะท้อน คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นแนวฉาก (มุม r )

รูปแสดงการสะท้อนของแสงที่วัตถุผิวเรียบแบบต่างๆ

- ภาพในกระจกเงาราบ
เมื่อวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาราบ เราสามารถเห็นทั้งวัตถุและภาพของวัตถุในกระจกเงาราบได้ เพราะมีแสงจากวัตถุมาเข้าตา แต่การเห็นภาพของวัตถุนั้น เกิดจากการที่แสงจากวัตถุไปตกกระทบผิวกระจกเงาราบแล้วสะท้อนกลับมาเข้าตาเราตามปกติแสงจากวัตถุจะกระจายออกไปทุกทิศทางและจะตกกระทบเต็มพื้นที่ผิวของ กระจกเงาราบ ถ้าพิจารณาแสงจากวัตถุเป็นรังสี จะมีรังสีของแสงจำนวนมากมายจากวัตถุตก กระทบผิวของกระจกเงาราบ ทำให้สามารถแสดงที่มาของภาพในกระจกเงาราบได้ ด้วยการใช้ กฎการสะท้อนของแสงเขียนรังสีตกกระทบ รังสีสะท้อนและเส้นแนวฉากจากนั้นต่อแนวรังสี สะท้อนไปทางด้านหลังของกระจกเงาราบ จากสมบัติเชิงเรขาคณิตของแสง อาจแสดงได้ว่ารังสี สะท้อนเหล่านี้ เสมือนออกมาจากจุดจุดหนึ่ง ซึ่งก็คือตำแหน่งภาพของวัตถุนั่นเอง ดังรูป ก.ระยะที่วัตถุอยู่ห่างจากผิวกระจกเรียกว่า ระยะวัตถุ ระยะที่ภาพอยู่ห่างจากผิวกระจกเรียกว่า ระยะภาพ 



 การหักเหของแสง( Refraction of Light )

         การหักเหแสงเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน  เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งแสงจะมีการหักเห และการหักเหจะเกิดขึ้นเฉพาะผิวรอยต่อของตัวกลางเท่านั้น    

 


                  สิ่งควรทราบเกี่ยวกับการหักเหของแสง

      -  ความถี่ของแสงยังคงเท่าเดิม ส่วนความยาวคลื่น และความเร็วของแสงจะไม่เท่าเดิม
      -  ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง
              จะอยู่ในแนวเดิมถ้าแสงตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลาง
              จะไม่อยู่ในแนวเดิมถ้าแสงไม่ตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลาง


                กฎการหักเหของแสง

   1.  รังสีตกกระทบ เส้นแนวฉาก และรังสีหักเห อยู่ในระนาบเดียวกัน
   2.  สำหรับตัวกลางคู่หนึ่ง ๆ อัตราส่วนระหว่างค่า sin ของมุมตกกระทบ ในตัวกลางหนึ่งกับ
        ค่า sin ของมุมหักเหในอีกตัวกลางหนึ่ง มีค่าคงที่เสมอ
 


สรุปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว


ทักษะที่ได้รับ
     - ได้ทบทวนความรู้เดิมจาก VDO ความลับของแสง
     - ได้รู้ว่าแสงมีความเป็นมาอย่างไร ?

การนำไปประยุกต์ใช้
      - สามารถนำมาเป็นแนวทางในการเรียนการสอนได้
      - สามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการทำสื่อให้เด็ก
      - สามารถนำมาจัดกิจกรรมให้เด็กได้

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 2 วันที่ 19 มิถุนายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 


กิจกรรม 

  • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทางผลผลิต
องค์ความรู้ที่ได้รับ    
-  ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน  แล้วสรุป ดังหัวข้อต่อไปนี้     
       
1.  ความหมายของวิทยาศาสตร์           
2.  ความสำคัญของวิทยาศาสตร์   (หัวข้อกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย)           
3.  พัฒนาการทางสติปัญญา            
4.  การเรียนรู้            
5.  แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์           
6.  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต 
  • การเรียนรู้เกิดขึ้นจากเส้นใยของสมองที่เชื่อมต่อกัน
  • การทำให้เด็กเกิดการคิด เพื่อให้เส้นใย ปราสาทเชื่อมต่อกันในเซลล์ต่างๆ
คิด รู้สึก
กองบัญชาการของร่างกาย

   
                  การทำกิจกรรมครั้งนี้เพื่อนทั้ง 6 คน  ให้สลับกันอ่านให้ครบทุกหัวข้อ จากนั้นให้ตัวแทนในกลุ่มเดินแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อเรื่อง "ความสำคัญของวิทยาศาสตร์"สรุป ความสำคัญของวิทยาศาสตร์       วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย


ทักษะที่ได้รับ     
1. การอ่านและจับใจความสำคัญ     
2. การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน

การนำไปใชั     
1.การเลือกวิธีการนำเสนอ     
2.การทำงานร่วมกันผู้อื่น(การรับฟังความคิดเห็น)