ยินดีต้อนรับ


วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 18 วันที่ 29 กันยายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 

**หมายเหตุ  เรียนชดเชยวันที่อาทิตย์


  • อาจารย์ให้ส่งงานสื่อวิทยาศาสตร์ 3 อย่าง นำเสนอสื่อ 1 อย่าง

แสงดาวที่หายไป

เพื่อคลายข้อสงสัยนี้ เราไปร่วมค้นหาคำตอบกับการทดลองสนุก ๆ  ในตอนที่ชื่อว่า .?แสงดาวที่หายไป?
อุปกรณ์
  1. ซองจดหมายสีขาว 1 ซอง
  2. กระดาษแข็ง 1 แผ่น (ขนาดเล็กว่าซองจดหมาย)
  3. ที่เจาะกระดาษ หรือไม้เสียบลูกชิ้น
  4. ไฟฉาย


วิธีการทดลอง

1.   เจาะรูบนแผ่นกระดาษแข็งประมาณ 10-15 รู แล้วนำใส่ลงในซองจดหมาย ดังภาพที่1
2.   เลือกทำการทดลองในห้องที่มีแสงสว่างปกติ ให้ถือซองจดหมายที่ระดับสายตา แล้วส่องไฟฉาย
ไปบริเวณด้านหน้าของซองจดหมาย ดังภาพที่ โดยให้ไฟฉายห่างจากซองจดหมายประมาณ 2 นิ้ว 
สังเกตเห็นอะไรบ้าง
3. ให้ถือซองจดหมายไว้ที่ตำแหน่งเดิม แต่เปลี่ยนตำแหน่งของไฟฉาย โดยเลื่อนไฟฉายไปฉาย
ด้านหลังซองจดหมาย

 ดังภาพที่ 3 สังเกตสิ่งที่มองเห็นจากภายในซองจดหมาย

        







จากผลการทดลอง 

จะพบว่าเมื่อส่องไฟฉายบริเวณด้านหน้าซองจดหมาย จะเห็นเพียงแสงสว่างจ้าของไฟฉายสะท้อนเข้าตา  แต่เมื่อเปลี่ยนไปส่องด้านหลังซองจดหมาย ก็จะสามารถมองเห็นแสงจากไฟฉายบางส่วนลอดผ่านรูเล็ก ๆ ที่เจาะไว้ ดูคล้ายกับดาวที่ส่องแสงระยิบระยับในเวลากลางคืน

การที่มนุษย์มองเห็นสิ่งต่าง ๆ  ได้นั้นเนื่องจากมีแสงจากวัตถุสะท้อนเข้าสู่ตา ผ่านรูม่านตา (Pupil) ที่อยู่ระหว่างม่านตา (Iris) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงสีของดวงตา  คนทั่วไปมักเรียกรูม่านตาว่า ตาดำ  ม่านตาจะควบคุมแสงให้ผ่านเข้าสู่ตาในปริมาณที่เหมาะสม คือ ในที่มีแสงสว่างมาก ม่านตาปรับรูม่านตาให้แคบลง เพื่อลดปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ตา ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่างน้อย รูม่านตาจะขยายกว้างออก ทำให้แสงผ่านเข้าสู่ตาได้มาก จึงมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น  ในกรณีที่เราส่องไฟฉายไปด้านหน้าของซองจดหมาย แสงจ้าของไฟฉายจะสะท้อนกับกระดาษเข้าสู่ตา ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นรูเล็ก ๆ บนกระดาษได้ เช่นเดียวกับการที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบกับบรรยากาศโลก  แสงเหล่านี้จะกลบแสงดาวให้หายไปในเวลากลางวัน  ทั้ง ๆ ที่ดาวดวงน้อยใหญ่เหล่านั้นยังคงส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเราส่องไฟฉายเข้าด้านหลังซองจดหมาย ปริมาณแสงด้านหน้าซองจดหมายที่น้อยกว่า จะทำให้รูม่านตาเปิดกว้าง เพื่อรับแสงที่ลอดผ่านรูบนกระดาษมา ทำให้เราสามารถมองเห็นรูบนแผ่นกระดาษได้อย่างชัดเจน
เราจะเห็นดาวบนท้องฟ้าได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืน โดยเฉพาะคืนเดือนมืดในชนบทจะเห็นดาวบนฟ้ามากมาย ยกเว้นในคืนที่พระจันทร์ส่องสว่างมาก ๆ หรือในเมืองที่มีแสงไฟรบกวน  แสงจากดาวก็จะหายลับไป





บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 17 วันที่ 18 กันยายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 

กิจกรรม

 *วันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติจริงในการเข้าครัวทำไข่ตุ๋น กิจกรรม cooking หลังจากที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์เมื่อสัปดาห์แล้ว

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking (ไข่ตุ๋นแฟนซี)


  1.  ครูจัดเด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม  แล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำไข่ตุ๋น ในวันนี้วางไว้ข้างหน้า 
  2.  ครูเสริมแรงเด็กโดยการใช้คำถาม  เช่น
  •         เด็กเห็นไหมคะว่าวันนี้คุณครูมีอะไรมา?
  •        เด็กๆคิดว่าวันนี้คุณครูจะทำกิจกรรมอะไร จากอุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นอยู่ค่ะ
  •         เด็กเคยทานไข่ตุ๋นไหมค่ะ  ไข่ตุ๋นเป็นยังไง 


    3.   ครูแนะนำวัตถุดิบให้เด็กฟัง


    4.   ครูให้นักเรียนอาสาสมัครออกมาหั่นผักและก็ปูอัดทีละคน ผักที่จะหั่นได้แก ผักชี ต้นหอมแครอท..โดยที่คุณครูเฝ้าาสังเกตการหั่นผักของเด็กอยู่ไม่ห่าง..

    
5.   เด็กๆ กับครูร่วมกันปรุงรสไข่ตุ่นกันอย่างสนุกสนาน ^^



ทักษะที่ได้รับ


1. ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดสร้างสรรค์จากเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
2. การเขียนแผนที่ถูกต้อง

การนำไปประยุกต์ใช้

1. การจัดประสบการณ์การทำอาหารให้กับเด็กปฐมวัย




บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 16 วันที่ 15 กันยายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 

**หมายเหตุ วันนี้มีเรียนชดเชย**

แต่ดิฉันไม่สบายจึงไม่ได้ไปเรียนชดเชยค่ะ


ับันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 15 วันที่ 11 กันยายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 



*หมายเหตุไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ*

มีงานมอบหมายคือ เตรียมจัดทำรูปเล่มที่ไปศึกษาดูงาน

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 14 วันที่ 4 กันยายน 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 


**หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ**

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 13 วันที่ 28 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น. 





ไปศึกษาดูงาน วันที่ 27-28  สิงหาคม 2556

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา   และ  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์

ออกเดินทางไป รร.สาธิตนครราชศรีมา
อาจารย์พานักศึกษามาไหว้ญ่าโม ก่อนไป รร.ลำปลายมาศ


เด็ก รร.สาธิตนครราชศรีมา

เด็กๆ กำลังทำกิจกรรมศิลปะ


บรรยาศ รร.ลำปลายมาศ
คุณครูได้บรรยายการศึกษาของ รร.ลำปลายมาศว่ามีความเป็นมายังไง

บรรกาศเด็กร่วมกันทำกิจกรรม




บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 12 วันที่ 21 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 

**หมายเหตุ ไม่มีการเรียนนการสอน**

       -  มอบหมายงานให้ไปหาข้อมูลที่เราจะไปศึกษาดูงาน และเตรียมตัวตามหน้าที่ขอตนเองที่ได้
มอบหมาย
       -  ให้นักศึกษาประดิษฐ์ ของเล่นวิทยาศาตร์และการทดลองวิทยาศาตร์

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 11 วันที่ 14 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 


กิจกรรมการเรียนการสอน
  1. นัดหมายการไปศึกษาดูงาน ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ในวันที่  27 - 28  สิงหาคม  255
  2. ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
  3. มอบหมายหน้าที่ในการไปศึกษาดูงาน
**หมายเหตุ อาทิตย์หน้าไม่มีการเรียนการสอน แต่มีงานที่ต้องทำคือให้ทำว่าวใบไม้**


บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 10 วันที่ 13 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 



โครงการ "การจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต"

วันอังคาร ที่  13  สิงหาคม  2556 เวลา 13:00 - 16:30 น.

ณ  ห้องประชุมจันทร์ประภัสส์  ชั้น 5  อาคารสำนักงานอธิการบดี

บรรยายพิเศษ  โดย  คุณมีชัย  วีระไวทยะ

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 9 วันที่ 7 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 


หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน 

เนื่องจากวันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมอบรม 

โครงการ กายงามใจดี ศรีปฐมวัย


บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 8 วันที่ 2 สิงหาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 



*หมายเหตุ วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก เป็นวันสอบกลางภาคเรียนที่ 1


บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 7 วันที่ 24 กรกฎาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 

กิจกรรม

  • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์



 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

            เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย สามารถคิดเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมที่ลงมือกระทำกับวัตถุ


  1. ความหมายทักษะการสังเกต  การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
  2. ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์
  3. ความหมายทักษะการวัด  การใช้เครื่องมือต่างๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยหาหน่วยการวัดกำกับ
  4. ความหมายทักษะการสื่อความหมายการพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้าความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
  5. ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลการเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
  6. ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาการู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา
  7. ความหมายทักษะการคำนวนความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การลวก ลบ คูณ หาร การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 6 วันที่ 18 กรกฎาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 

หมายเหตุ เนื่องจากวันนี้อาจารย์ผู้สอนติดภาระกิจ จึงไม่มีการเรียนการสอน   แต่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายงานไว้   คือ  ให้คิดการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ  สื่อวิทยาศาตร์ที่ไว้ในมุมเสริมประสบการณ์


การทดลอง

ทำฟองอากาศเป่าเล่นจากขวดน้ำ


อุปกรณ์
  1. ขวดน้ำื่มแบบพลาสติก
  2. คัสเตอร์
  3. สบู่ผสมน้ำ
  4. ผ้าขนหนูผืนเล็กๆ
  5. ยางรัด
  6. สีน้ำ
วิธีทำ
  1. ตัดก้นขวดออก ผสมกับน้ำสบู่ให้เข้มข้น ผสมสีสวยๆ ลงไป


    2.  นำผ้าขนหนูรัดที่ก้นขวด



    3.  เป่าลมเข้าทางปากขวด

   
    4.   จะได้ฟองสบู่สวยๆ ใหญ่ ค่ะ ^^



บันทึการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 5 วันที่ 15 กรกฎาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 

กิจกรรม


- นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่

รูป 1 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่
ถาม
ค้นหา
ผมสีรุ้ง ในหลอดแก้ว

อุปกรณ์

  • หลอดแก้ว หรือหลอดพลาสติกแบบมีฝาปิด
  • เม็ดเยลลี่ แบบผสมน้ำแล้วฟองฟู
  • น้ำเปล่า
  • แก้วพลาสติก

วิธีทำ

  1. นำเม็ดเยลลี่ สีแดง ฟ้า เหลือง ใส่ลงไปในแก้ว เทน้ำลงไป รอสักครู่ให้เยลลี่พองตัว
  2. นำหลอดพลาสติก ใส่เยลลี่ที่พองตัว สีแดง สีเหลือง สีฟ้า ตามลำดับ
  3. จากนั้นปิดฝาหลอดพลาสติก
  4. พลิกขวดคว่ำลง
จะได้สีรุ้งสวยๆ ผสมกันในขวดค่ะ
รูป 2 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่รูป 3 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่รูป 4 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่รูป 5 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่รูป 6 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่รูป 7 ทำสีรุ้ง ในหลอดพลาสติก ด้วยเยลลี่

บันทึกการเรียนการสอน




  ครั้งที่ 4 วันที่ 9 กรกฎาคม 2556



วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
EAED2204

เวลา 08.30 - 12.20 น. 

กิจกรรม

  • อาจารย์จินตนานำสื่อวิทยาศาสตร์มาให้ดู   "กระบอกลูกปิงปอง"


กระบอกลูกปิงปอง สอนเรื่อง แสงทะลุผ่านทำให้มองเห็นลูกปิงปอง

  • แจกกระดาษ 2 แผ่น ทำเป้นสมุดเล่มเล็ก "วาดรูป"
สิ่งสำคัญสำหรับเด็ก
  1. กระบวนการ
  2. เด็กได้ลงมือทำกับวัตถุ
  3. ประสบการณ์เดิม
  4. สมอง
  • คิด
  • ดูดซึม
  • ปรับโครงสร้าง
 ดูวิดีโอ เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ


การทดลองที่ 1  :   การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ



จะเห็นได้ว่า น้ำแข็งที่ได้รับความร้อน จนกลายเป็นของเหลว
แล้วจากของเหลวกลสยเป็นก๊าซ คือ ไอน้ำกระทบก้นจานจนทำให้เกิดน้ำหยดลงมา


การทดลองที่ 2  :   การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ



                     จะ เห็นได้ว่า  น้ำที่เทใส่ในภาชนะมีปริมาณเท่ากัน  แต่หลังจากการนำน้ำไปตากแดดเป็นเวลา 1 วันแล้ว  พบว่าน้ำในจานเหลือน้อยกว่าน้ำในแก้ว   เกิดจาก  ผิวหน้าของจานมีความกว้างกว่า น้ำจึงระเหยเร็วจากการโดนความร้อนนานๆ 

การทดลองที่ 3  :   การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ

1.  เทน้ำใส่แก้วจนเต็ม
2.  ใช้กระดาษปิดปากแก้ว  แล้วแช่ช่องแข็งในตู้เย็น




จะพบว่าหลังจากที่นำแก้วน้ำออกจากช่องแช่เข็งแล้วน้ำในแก้วจะเป็นน้ำแข็ง
และดันกระดาษที่ปิดปากแก้วจนเห็นได้ว่านูนขึ้น  เกิดจาก  การขยายตัวเพิ่ม 12 % ของน้ำ 


การทดลองที่  4  :  การเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ



จากการทดลองนี้จะพบว่า ... เมื่อใส่แครอตลงไปในแก้วที่มีแต่น้ำเปล่า  แครอตนั้นจะจมลงสู่ก้นแก้ว
แต่พอเราเติมน้ำเกลือลงไปในน้ำที่อยู่ในแก้วด้วย  จะเห็นว่า ชิ้นแครอตนั้นจะลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ
เกิดจาก   น้ำเกลือมีความอัดแน่นกว่าน้ำเปล่าสธรรมดา


การทดลองที่ 5  :   ตกปลาน้ำแข็ง


จากการทดลอง จะเห็นได้ว่าน้ำแข็งติดขึ้นมากับผ้าพันแผล  จากการโรยเกลือลงบนผ้าพันแผลนั่นเอง เกิดจาก    เกลือสามารถดูดความร้อนได้


การทดลองที่ 6  :  การกดดันน้ำ  *ทฤษฎีการสร้างเขื่อน*
1.  เจาะรูขวดพลาสติก 3 รูเรียงในแนวตั้ง ให้ตรงกัน
2. ปิดรูที่เจาะด้วยเทปใสทั้ง 3 รู
3. เต็มน้จนเต็ม
4.  ค่อยๆเปิดเทปใสออกทีละ 1 รู
     จะพบว่ารูที่อยู่ล่างสุด น้ำนั้นจะพุ่งออกจากรูแรงและไกลกว่ารูที่อยู่ด้านบน   เกิดจาก    แรงดันของน้ำ (ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ภาชนะ)  มีไม่เท่ากัน และอยู่ที่ระดับความลึกของน้ำ


การทดลอง   :  ผิวหน้าน้ำ
1. หาขวดพลาสติก 1 ใบ
2.  ตุ๊กตาดินน้ำมัน 1  ตัว  (ด้านล่างของตุ๊กตาต้องโปร่ง)
3.  เติมน้ำในขวดให้ต็ม  แล้วใส่ตุ๊กตาลงไป   ปิดฝาให้สนิท
4.เมื่อเราบีบขวดน้ำ  ตุ๊กตาที่อยู่ก้นขวดจะค่อยๆลอยขึ้นมาอยู่ผิวน้ำ   เกิดจาก  แรงดันอากาศเพิ่มขึ้น

การทดลองที่ 2 :  ผิวหน้าน้ำ
1. ใส่น้ำที่ผสมสีไว้เข้าในสายยาง
2.  ยกปลายสายยางขึ้น จะเห็นว่าน้ำที่อยู่ในสายยางมีปริมาณเท่ากัน
    *จะยกสายยางสูงหรือต่ำ ระดับน้ำในสายยางก็เท่ากันอยู่ดี*

การทดลอง  :  แรงตึงผิว
1.  เอาน้ำใส่ถ้วย
2.  ใส่ข็มเย็บผ้าลงไป  พบเห็นว่า  เข็มเย็บผ้านั้นลอยอยู่ผิวหน้าน้ำ   เนื่องจาก  ผิวหน้าน้ำสัมผัสกับอากาศ  โมเลกุลเลยรวมกลุ่ม  จึงทำให้เกิดความยืดหยุ่นของน้ำ


การทดลอง  :  ปรากฏการณ์ท่อรูเข็ม
1. แก้ว 1 ใบใส่น้ำไว้
2.  ถ้วยเปล่า  1  ใบ
3.  กระดาษทิชชุ่ม้วนเป็นแท่ง
4. ใส่ปลายทิชชู่ลงในแก้วที่มีน้ำ
5.  ปลายอีกด้านหนึ่งจะอยู่ในถ้วยเปล่า  จะเห็นว่า  น้ำซึมผ่านมาหยดในถ้วย


ทักษะที่ได้รับ
1. ทักษะการสรุปองค์ความรู้เป็นแผนผังความคิด
2.  ทักษะการคิด  ทดลอง  และหาข้อเท็จจริง


การนำไปประยุกต์ใช้
1.  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสร์ให้กับเด็กปฐมวัย
2.  การสรุปองค์ความรู้ในประเด็นหลักๆ และในเวลาที่กำหนด  โดยใช้แผนผังความคิด